งานสำรวจ ออกแบบ

บรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำสาขา

จังหวัดปราจีนบุรี

ข้อมูลโครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

แม่น้ำปราจีนบุรีเป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำบางประกง สภาพทั่วไปของลุ่มน้ำบางประกงโดยรวมนั้น ครอบคลุมพื้นที่เขตการปกครอง 6 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และนครนายก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 20,303 ตารางกิโลเมตร

แม่น้ำสายหลักในลุ่มน้ำ ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรีซึ่งเป็นน้ำสาขาของแม่น้ำบางปะกง เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำหนุมานและแม่น้ำพระปรงซึ่งรวมกับคลองพระสะทึง โดยทั้งสองสายมาบรรจบกันที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี แล้วไหลผ่านอำเภอศรีมหาโพธิ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ไปบรรจบกับแม่น้ำนครนายก ที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงก่อนไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

Chania

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำบางปะกงตอนบน เป็นที่ราบสูง และป่าทึบสลับซับซ้อนและเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำหลายสาย ทิศเหนือเต็มไปด้วยเทือกเขา มีลำน้ำแควหนุมานและแควพระปรงมาบรรจบกันที่อำเภอกบินทร์บุรีเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี และไหลลงตอนล่างเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ลักษณะพื้นที่ในลุ่มน้ำมีแหล่งเก็บกักน้ำน้อยมากและความสามารถในการระบายน้ำของลำน้ำไม่เพียงพอทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้งเป็นประจำเกือบทุกปี และจากสภาพต้นน้ำที่ลาดชัน กับทั้งมีปริมาณน้ำเก็บกักเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำท่ารายปีและไม่มีอาคารบังคับน้ำที่เพียงพอ ในทุกปีเมื่อเข้าช่วงฤดูแล้งพื้นที่ลุ่มน้ำบางประกงจึงประสบปัญหาน้ำแล้งและน้ำเค็มจากน้ำทะเลหนุน

จากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2556 นายกรัฐมนตรีและคณะได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2556 และได้สั่งการให้กรมชลประทานพิจารณาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรี สำนักบริหารโครงการได้พิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในแม่น้ำปราจีนบุรีแล้วจึงเห็นควรดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำสาขาจังหวัดปราจีนบุรี

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างคลองผันน้ำและประตูระบายน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี โดยรายงานฯ แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2559

ปี 2567 กรมชลประทาน ได้ว่าจ้างให้กิจการร่วมค้า FCSPB JV ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ฟลัดเวย์ จำกัด บริษัท คาแนล ออโตเมชั่น ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ศุภฤกษ์ แพลนนิ่ง แอนด์ ดีไซน์ จำกัด บริษัท บียอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด  ดำเนินการสำรวจ ออกแบบโครงการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำสาขา จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย โครงการย่อย 3 โครงการ ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง คือ

โครงการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำสาขา จังหวัดปราจีนบุรี

ประกอบด้วย โครงการย่อย 3 โครงการ ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ดังนี้

ดังนั้นกรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา “กิจการร่วมค้า FCSPB JV” ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ฟลัดเวย์ จำกัด บริษัท คาแนล ออโตเมชั่น ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ศุภฤกษ์ แพลนนิ่ง แอนด์ ดีไซน์ จำกัด บริษัท บียอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด

วัตถุประสงค์ของโครงการ

   เพื่อเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำและเพิ่มความสามารถ ในการระบายน้ำของลำน้ำให้เพียงพอ เพื่อแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง

   เพื่อเพิ่มอาคารบังคับน้ำที่เพียงพอสำหรับ ความต้องการใช้น้ำในทุกปี

   เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเค็มจากน้ำทะเลหนุน

ลักษณะสำคัญของโครงการโดยสังเขป

ลักษณะและองค์ประกอบของโครงการ

   คลองผันน้ำ 2 สาย ได้แก่ คลองผันน้ำแควหนุมานและคลองผันน้ำคลองพระปรง

   ประตูระบายน้ำ ในลำน้ำสายหลัก 3 แห่ง

   อาคารควบคุมน้ำในคลองผันน้ำแควหนุมาน และคลองผันน้ำคลองพระปรง

   การปรับปรุงระบบระบายน้ำ

   คันกั้นน้ำด้านต้นน้ำของชุมชนกบินทร์บุรี

ลักษณะและองค์ประกอบของโครงการ

   ช่องลัด เป็นคลองดินขุด กว้าง 120.00 เมตร

   ประตูระบายน้ำและบานระบาย เป็นแบบบานตรง จำนวน 4 บาน

   ประตูเรือสัญจร ขนาดความกว้างประมาณ 20.00 เมตร

   ทางผ่านปลา ติดตั้งข้างของ ประตูระบายน้ำ (ฝั่งขวาของแม่น้ำปราจีนบุรี)

   สะพานรถยนต์ ความกว้าง 7.00 เมตร

ลักษณะและองค์ประกอบของโครงการ

   การออกแบบปรับปรุงประตูระบายน้ำ/สถานีสูบน้ำ

   ออกแบบประตูระบายน้ำ/ท่อลอดถนน

   ออกแบบสถานีสูบน้ำ 2 ทาง

   ออกแบบประตูระบายน้ำวัดไผ่ขวาง

สรุปองค์ประกอบโครงการ

ขอบเขตการดำเนินงาน

งานวิศวกรรม

   การศึกษาทบทวนเพื่อกำหนดลักษณะโครงการ

   การจัดทำแนวคิดและเกณฑ์ในการออกแบบ

   การสำรวจและจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ

   การสำรวจและทดสอบธรณีวิทยาฐานรากและวัสดุก่อสร้าง

   งานจัดเตรียมแบบรายละเอียดและเอกสารฉบับสมบูรณ์

งานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมโครงการ

   การประชุมปฐมนิเทศโครงการ

   การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1

   การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2

   การประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการ

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการคลองผันน้ำพร้อมอาคารประกอบที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

1) ผลประโยชน์ทางตรง ด้านชลประทานเพิ่มขึ้น ด้านบรรเทาอุทกภัยดีขึ้น เพิ่มมูลค่าการสูญเสียพื้นที่การเกษตร

2) ผลประโยชน์ทางอ้อม มูลค่าการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้น มูลค่าการใช้น้ำอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งเพิ่มขึ้น มูลค่าน้ำที่ใช้ผลักดันน้ำเค็มเพิ่มขึ้น (กรณีมีน้ำต้นทุนทุนเพียงพอ)

3) ผลประโยชน์ด้านการบรรเทาอุทกภัย ทำให้พื้นที่ปิดล้อมภายในแนวคลองผันน้ำและประตูระบายน้ำ ได้รับการป้องกันน้ำท่วมอย่างสมบูรณ์ พื้นที่รวมประมาณ 4,262 ไร่

4) ผลประโยชน์ด้านการขาดแคลนน้ำ

โครงการประตูระบายน้ำวังชัน

1) ผลประโยชน์ทางตรง ด้านชลประทานเพิ่มขึ้น ด้านบรรเทาอุทกภัยดีขึ้น

2) ผลประโยชน์ทางอ้อม มูลค่าการใช้น้ำอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งเพิ่มขึ้น มูลค่าน้ำที่ใช้ผลักดันน้ำเค็มเพิ่มขึ้น (กรณีมีน้ำต้นทุนเพียงพอ)

3) ผลประโยชน์ด้านการบรรเทาอุทกภัย

โครงการปรับปรุงคลองธรรมชาติทางระบายน้ำ ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำในพื้นที่บางพลวง

1) ช่วยการกักเก็บน้ำในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นการชั่วคราว และนำน้ำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่บรรเทาปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำบางส่วน

2) สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน และนำไปใช้แทนน้ำต้นทุนจากอ่างฯ (กรณีที่มีน้ำเพียงพอ)

3) สามารถช่วยผลักดันน้ำเค็ม (กรณีที่มีน้ำต้นทุนเพียงพอ)

ระยะเวลาดำเนินการ

งานสำรวจ ออกแบบ บรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในแม่น้ำปราจีนและแม่น้ำสาขาจังหวัดปราจีนบุรี มีระยะเวลาดำเนินงาน ทั้งหมด 720 วัน
โดยเริ่มปฏิบัติงานตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ครบกำหนดอายุสัญญาวันที่ 20 กันยายน 2569

ข่าวประชาสัมพันธ์

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุม SWOC ชั้น 2 โครงการชลประทานปราจีนบุรี ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

กิจการร่วมค้า FCSPB JV เข้าหารือการดำเนินงานประชาสัมพันธ์​ของจ้างสำรวจออกแบบ โครงการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในแม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำสาขา จังหวัดปราจีนบุรี โดยนายโชคชัย เสนาะเกียรติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานปราจีนบุรี สำนักงานชลประทานที่ 9 มอบหมายให้ นายจารุพงษ์ คงใจ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม นายกิตติ ตั้นเจริญ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน และนายปฎิภาณ เทียมทอง หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 รักษาการในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

logo

กรมชลประทาน

logo

สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม